ร้านหนังสือเก่า สยามบุ๊คดอทเน็ต Siambook.net : The Name for Quality Usedbooks ร้านสุหนังสือเก่า , ร้านหนังสือมือสอง , ร้านหนังสือหายาก , ร้านหนังสือออนไลน์ , มานี มานะ , สามเกลอ , รับซื้อหนังสือ ให้ราคายุติธรรม

สยามพิมพการ: ประวัติศาสตร์การพิมพ์ในประเทศไทย *พิมพ์ครั้งแรก*

SOLD OUT
฿399.00
ประวัติศาสตร์การพิมพ์ในประเทศไทย หนังสืออันทรงคุณค่าซึ่งรวบรวมประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า และตำนานของ คนทำหนังสือ ที่จะช่วยฉายฉากประวัติศาสตร์การพิมพ์ไทยอันยิ่งใหญ่ให้แจ่มชัดขึ้น
เหลือ 0 ชิ้น
  • หมวดหมู่ : กฎหมาย,พจนานุกรม,สารานุกรม,หนังสืออ้างอิง,คู่มือฯล
  • รหัสสินค้า : 055048

รายละเอียดสินค้า สยามพิมพการ: ประวัติศาสตร์การพิมพ์ในประเทศไทย *พิมพ์ครั้งแรก*

ผลงานของ คณะทำงานประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย

ประเภทปก แข็ง

กระดาษ ถนอมสายตา

พิมพ์ครั้งที่ 1 

ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2547

สำนักพิมพ์ มติชน

จำนวนหน้า 560 หน้า

ขนาด 165x250 มม.

สภาพหนังสือ:ปกมีรอยกระแทก ถลอก ตามขอบมีรอยบุบเล็กน้อยทั้งสี่ด้าน ตามภาพ ,  สันหนังสือเป็นจุดเหลืองประปราย , ตัวเล่มภายในสภาพดี

 

รายละเอียดเพิ่มเติม:

สยามพิมพการ: ประวัติศาสตร์การพิมพ์ในประเทศไทย หนังสืออันทรงคุณค่าซึ่งรวบรวมประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า และตำนานของ “คนทำหนังสือ” ที่จะช่วยฉายฉากประวัติศาสตร์การพิมพ์ไทยอันยิ่งใหญ่ให้แจ่มชัดขึ้น

หนังสือประวัติศาสตร์การพิมพ์อันยิ่งใหญ่เล่มนี้ เพียบพร้อมไปด้วยข้อมูลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่รวบรวมโดยผู้เชี่ยวชาญ และเรียบเรียงใหม่เป็นประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ที่แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ภาค ดังต่อไปนี้

1. ประวัติการพิมพ์ – เล่าเรื่องราวประวัติเทคโนโลยีการพิมพ์, ประวัติการหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย, ประวัตินิตยสารในประเทศไทย และประวัติสำนักพิมพ์ในประเทศไทย

2. บทวิเคราะห์ “ชาติไทยในสิ่งพิมพ์” ว่าด้วยบทบาทของบุคคล สังคม ที่มีผลกระทบต่อการพิมพ์ในยุคเริ่มแรกของไทย – นำเสนอเรื่องการพิมพ์ในสังคมไทยช่วงแรกเริ่ม โดยเฉพาะเมื่อการพิมพ์ยังอยู่ในมือของชนชั้นสูง

3. จาก “ประพันธ์สาส์น” ถึง “มติชน” – บอกเล่าการเดินทางของ “มติชน” ตั้งแต่การก่อตั้ง “ประชาชาติ” ก่อนหยั่งรากแข็งแรงในฐานะ “มติชน” ปัจจุบัน

4. ภาคผนวก – รวบรวมรายชื่อหัวหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 7 ภาพถ่ายหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ไทยสมัยต่างๆ ตลอดจนตารางเปรียบเทียบเทคโนโลยีการพิมพ์และการแพร่หลายการพิมพ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้