ตัดตอนจาก กามนิต (กามนิต-วาสิฏฐี) (The Pilgrim Kamanita)
ผลงานของ คาร์ล อดอ์ลฟ เจลลิรูป (Karl Adoplh Gjellrup) นักเขียนรางวัลโนเบล พ.ศ.2460
Translated by จอห์น อี. โลจี (John E. Logie)
แปลไทยโดย เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
ประเภทปก อ่อน
กระดาษ ธรรมดา
พิมพ์ครั้งที่ 14
ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2544
สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช
จำนวนหน้า 153 หน้า
ขนาด 125x175 มม.
สภาพหนังสือ:ปกมีรอยถลอก ยับ เล็กน้อยตามภาพ , กระดาษเหลืองตามขอบ และ เป็นจ้ำเหลืองประปราย , สันหนังสือเหลือง และเป็นจุดเหลืองประปราย , ตัวเล่มสภาพค่อนข้างดี
รายละเอียดเพิ่มเติม
กามนิต ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนังสือดีร้อยเล่มที่คนไทยควรอ่าน หมวด นวนิยาย
กามนิต เป็นงานที่เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป แปลเรียบเรียงจากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของ John E. Logie จากเรื่อง The Pilgrim Kamanita ที่แปลจากบทประพันธ์ ภาษาเยอรมัน ของ Karl Adolph Gjellerup กวีและนักเขียนชาวเดนมาร์ค ระหว่าง พ.ศ.2400-2462 ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ปี พ.ศ.2460 ฉบับภาษาไทย จัดพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2473
เสฐียรโกเศศ ..... เป็นนามปากกาของ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน
นาคะประทีป ..... เป็นนามปากกาของ พระสารประเสริฐ หรือ ตรี นาคะประทีป
ถึงแม้กามนิต จะเป็นวรรณกรรมแปลและเรียบเรียงมาจากภาษาอื่น แต่ด้วยความปรีชาสามารถทางภาษาและความรู้เรื่องต่างๆ อันเนื่องด้วยข้อความแปลของผู้แปลทั้งสอง ผู้เป็นปราชญ์ทางภาษาและวัฒนธรรมของไทย รวมทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ พุทธศาสนาและประเทศอินเดีย ที่คนไทยคุ้นเคย ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องแปล จึงกลับกลายเป็นเรื่องของไทยๆ ซึ่งอ่านได้สนิทใจ
ส. ศิวรักษ์ ได้กล่าวถึงหนังสือ กามนิต วาสิฏฐี ว่า
"คุณค่าของกามนิต ในทางวรรณคดีนั้น ไม่เป็นที่กังขา แต่คนส่วนใหญ่สมัยนี้ คงไม่ทราบว่า หนังสือนั้น เป็นหัวเลี้ยวที่สำคัญในทางวรรณกรรมไทย ฝ่ายพระพุทธศาสนาด้วย ผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัญญาชนสมัยนั้น เริ่มรู้สึกแล้วว่า ไม่มีหนังสือสมัยใหม่ สอนพระพุทธศาสนา แก่คนรุ่นใหม่ พอกามนิตเผยร่างออกมา ทางสำนักไทยเขษม ปัญญาชนในสมัยนั้น ก็เลยโล่งอกไปว่า ในรัชกาลที่เจ็ดมีหนังสือดี ในทางพระศาสนา ปรากฏออกมาแล้ว ....
..... แก่นอันเป็นคุณค่า ของเรื่องกามนิต คือ ความรัก ความทุกข์จากรัก และดับทุกข์ด้วยธรรมะ นวนิยายนี้ เป็นงานโรแมนติก อันมีความลึกซึ้ง รสรักทางวรรณกรรม ได้เจือธรรมรสเข้าด้วยกัน กลมกลืน ทรงพลัง ประทับใจ มิใช่งานประพันธ์ดาดๆ สำหรับชั่วเวลาสักระยะหนึ่ง งานวรรณกรรมเรื่องนี้ จึงอยู่ในเกราะกำบังของกาลเวลา เนื่องจากความถึงพร้อมของเนื้อหา และรูปแบบศิลปะ ..."
This website uses cookies (Learn more) and has a privacy policy (Learn more).