ร้านหนังสือเก่า สยามบุ๊คดอทเน็ต Siambook.net : The Name for Quality Usedbooks ร้านสุหนังสือเก่า , ร้านหนังสือมือสอง , ร้านหนังสือหายาก , ร้านหนังสือออนไลน์ , มานี มานะ , สามเกลอ , รับซื้อหนังสือ ให้ราคายุติธรรม

แนวสอนประวัติศาสตร์สำหรับนักเรียนนายร้อยทหารบกและนักเรียนเทคนิคทหารบก อนุสรณ์ พันโท พระวิเศษพจนกิจ

฿250.00
พันโท พระวิเศษพจนกิจ (ทองดี วิเศษพจนกิจ) อดีตครูใหญ่โรงเรียนวัดราชสิทธสังข์กระจาย , วัดอรุณราชวราราม , วัดกัลยาณมิตร และ วัดประยูรวงศาวาศ , อาจารย์ยศ.๑ โรงเรียนนายร้อยทหารบก
เหลือ 1 ชิ้น
ซื้อเลย
หยิบลงตะกร้า
  • หมวดหมู่ : หนังสือที่ระลึกงานพระบรมศพ , พระศพ , ศพบุคคลต่างๆ
  • รหัสสินค้า : 049010

รายละเอียดสินค้า แนวสอนประวัติศาสตร์สำหรับนักเรียนนายร้อยทหารบกและนักเรียนเทคนิคทหารบก อนุสรณ์ พันโท พระวิเศษพจนกิจ

ผลงานของ พันโท พระวิเศษพจนกิจ (ทองดี วิเศษพจนกิจ)
ประเภทปก อ่อน
กระดาษ ธรรมดา 
พิมพ์ครั้งที่ -
ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2505
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโท พระวิเศษพจนกิจ (ทองดี วิเศษพจนกิจ พ.ศ.2428-2505) อดีตครูใหญ่โรงเรียนวัดราชสิทธสังข์กระจาย , วัดอรุณราชวราราม , วัดกัลยาณมิตร และ วัดประยูรวงศาวาศ , อาจารย์ยศ.๑ โรงเรียนนายร้อยทหารบก บุตร นายเปลี่ยน-นางนาก สุวรรณกาญจน์ สมรสกับ น.ส.จิ้มลิ้ม โชติเลขา บิดาของ พล.อ.ท. ทองล้วน วิเศษพจนกิจ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2505
จำนวนหน้าประมาณ 270 หน้า พร้อมแผนผังประกอบ
ขนาด 165x215 มม.
สภาพหนังสือ:ปกมีคราบเหลือง-จ้ำเหลือง มีรอยเปื้อนคราบน้ำที่ขอบด้านล่าง มีรอย ถลอก ยับเล็กน้อยตามภาพ สันปกถลอก ปริ ขาดเล็กน้อย , กระดาษเหลืองตามขอบ มีรอยเปื้อนคราบน้ำที่ขอบล่างเล็กน้อยบางหน้า ช่วงหน้าคำนำด้านในมีรอยขาดแหว่งที่มุมล่างเล็กน้อยไม่กระทบเนื้อความ , สันหนังสือเหลืองเข้ม และเป็นจุดเหลืองประปราย , ตัวเล่มภายในสภาพค่อนข้างดี
 
รายละเอียดเพิ่มเติม:
ภายในเล่ม นอกจากประวัติ ภาพถ่าย คำไว้อาลัยที่มีต่อผู้วายชนม์แล้ว ยังประกอบด้วยเรื่องดังนี้
แนวสอนประวัติศาสตร์สำหรับนักเรียนนายร้อยทหารบกและนักเรียนเทคนิคทหารบก เดิมใช้ชื่อว่า แนวสอนประวัติศาสตร์สยาม พิมพ์ครั้งแรกเมื่อต้น พ.ศ.2477 ผู้วายชนม์เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้เป็นคู่มือของนักเรียนนายร้อยทหารบกและนักเรียนเท็ฆนิคทหารบก เนื้อหาเริ่มตั้งแต่สมัยเกิดสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับหงสาวดีเรื่อยมาจนถึงการเสียดินแดน4ครั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์