รายละเอียดสินค้า ชัยชนะของหลวงนฤบาล
ผลงานของ ดอกไม้สด (ม.ล.บุบผา (กุญชร) นิมมานเหมินท์)
ประเภทปก แข็ง พร้อมใบหุ้มปก
กระดาษ ปอนด์
พิมพ์ครั้งที่ -
ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2509
สำนักพิมพ์ แพร่พิทยา
จำนวนหน้า 730 หน้า
ขนาด 130x185 มม.
สภาพหนังสือ:ใบหุ้มปกมีรอยใช้เทปกาวใสปิดยึดกับตัวปก และมีพลาสติดหุ้มอีกชั้นแบบใช้กาวแกะแยกไม่ได้ , ใบรองปกมีตรายางประทับ , กระดาษเหลืองตามขอบ , สันหนังสือเหลือง และเป็นจุดเหลืองประปราย เย็บกี่ที่สันเริ่มหลวมทำให้ขอบกระดาษเหยินออกมาบ้างไม่เรียบเสมอกัน
รายละเอียดเพิ่มเติม:
ดอกไม้สด เป็นนามปากกาของ หม่อมหลวงบุปผา (กุญชร) นิมมานเหมินท์ (17 กุมภาพันธ์ 2448 - 17 มกราคม 2506) ธิดาเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) และหม่อมมาลัย เกิด เมื่อวันศุกร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 ปีมะเส็ง ที่วังบ้านหม้อ
งานเขียนของดอกไม้สดถือได้ว่าเป็นนิยายกึ่งพาฝันกึ่งสมจริงรุ่นบุกเบิก งานส่วนใหญ่ของท่านจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตครอบครัว โดยเฉพาะเรื่องความรักและการหาคู่ของคนหนุ่มสาว ท่านเป็นนักเขียนรุ่นแรกๆที่ให้ความสำคัญกับตัวละครฝ่ายหญิงมาก
ผลงานในระยะแรกของดอกไม้สดจะมีความเป็นโรมานซ์ แต่ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตของท่านในฐานะที่เป็นราชตระกูลที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในวัง นวนิยายของท่านจะมีลักษณะเรียลลิสติกมากขึ้น เช่นเรื่อง ผู้ดี
เริ่มต้นอาชีพนักเขียน โดยเริ่มเขียนบทละคร "ดีฝ่อ" และเริ่มเขียนหนังสือในปี พ.ศ. 2472 เมื่ออายุ 20 ปี เรื่องแรก คือ "ศัตรูของเจ้าหล่อน" ลงพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ไทยเขษม ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2472
ผลงานสร้างชื่อเสียง
ศัตรูของเจ้าหล่อน (2472)
นิจ (2472)
นันทวัน (2472)
ความผิดครั้งแรก (2473)
กรรมเก่า (2478)
สามชาย (2476) (เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาเรียนอยู่สมัยหนึ่ง)
หนึ่งในร้อย (2478) (อยู่ใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน)
อุบัติเหตุ (2477)
ชัยชนะของหลวงนฤบาล (2478)
ผู้ดี (2480) (กระทรวงศึกษาธิการคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาชั้นมัธยมศึกษาถึงปัจจุบัน)
นี่แหละโลก (2483) (ได้รับรางวัลนวนิยายของชาวเอเชีย แล้วได้ตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่น)
วรรณกรรมชิ้นสุดท้าย (2492) (แต่งไม่จบ)
บุษบาบรรณ (รวมเรื่องสั้น สมาคมนักประพันธ์ออสเตรเลียนำเรื่องสั้นชื่อ "พลเมืองดี" ไปตีพิมพ์ในหนังสือเล่มพิเศษฃื่อ "SPAN" บางครั้งเรื่องนี้นำไปพิมพ์ในชุดพู่กลิ่น)
พู่กลิ่น (รวมเรื่องสั้น เดิมใช้ชื่อว่า "เรื่องย่อย")
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ ร้าน สยามบุ๊คดอทเน็ต ( www.siambook.net )