ร้านหนังสือเก่า สยามบุ๊คดอทเน็ต Siambook.net : The Name for Quality Usedbooks ร้านสุหนังสือเก่า , ร้านหนังสือมือสอง , ร้านหนังสือหายาก , ร้านหนังสือออนไลน์ , มานี มานะ , สามเกลอ , รับซื้อหนังสือ ให้ราคายุติธรรม

ช่างสำราญ *หนังสือรางวัลซีไรท์*

SOLD OUT
฿88.00
วรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรท์ในปี พ.ศ. 2546 เป็นผลงานลำดับสองของ เดือนวาด พิมวนานักเขียนผู้ได้รับการประดับช่อการะเกดสามปีซ้อน (2535-2537)
เหลือ 0 ชิ้น
  • หมวดหมู่ : -หนังสือรางวัลซีไรต์ (THE S.E.A. WRITE AWARD)
  • รหัสสินค้า : 034384

รายละเอียดสินค้า ช่างสำราญ *หนังสือรางวัลซีไรท์*

 

ผลงานของ เดือนวาด พิมวนา (นักเขียนรางวัลซีไรท์ จากเรื่อง ช่างสำราญ)
ประเภทปก อ่อน
กระดาษ ปอนด์
พิมพ์ครั้งที่ 7
ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2546
สำนักพิมพ์ สามัญชน
จำนวนหน้า 231 หน้า
ขนาด 125x185 มม.
สภาพหนังสือ:ปกมีรอยขีดข่วนเล็กน้อยตามภาพ, สันหนังสือเป็นจุดเหลืองประปราย , ตัวเล่มสภาพดี
 
รายละเอียดเพิ่มเติม:
ช่างสำราญ เป็นวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรท์ในปี พ.ศ. 2546 เป็นผลงานลำดับสองของนักเขียนผู้ได้รับการประดับช่อการะเกดสามปีซ้อน (2535-2537) 
นวนิยายเรื่องนี้แสดงภาพชีวิตของเด็กบ้านแตก คือเด็กชายกำพล ช่างสำราญ ที่ทำให้ผู้อ่านต้องคาดเดาว่า เนื้อเรื่องจะเป็นอย่างไร โดยเริ่มจากการเปิดเรื่องด้วยเหตุการณ์ที่รุนแรง ทั้งการกล่าวถึงแม่เด็กที่มีชู้ และพ่อเด็กที่ไม่มีเงินเช่าบ้าน ต้องหอบหิ้วเด็กไปอาศัยในสังคมใหม่ ที่มีชาวบ้านชอบยุ่งเรื่องของเพื่อนบ้าน ดังนั้นเนื้อหาของเรื่องส่วนหนึ่งจึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องของชาวบ้านที่ชอบยุ่งเรื่องของเพื่อนบ้าน แม้ว่าเหมือนจะทำให้เรื่องราวยุ่งยาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ลักษณะนี้เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทย ที่แม้จะเป็นการยุ่งสอดรู้สอดเห็น แต่ก็แฝงไปด้วยความเอื้ออาทรที่มีต่อเด็กชายคนนี้ ซึ่งในแง่นี้ก็คือ ผู้เขียนใช้รากเหง้าทางวัฒนธรรม และความเอื้ออาทรในหมู่ชาวบ้านมาช่วยเด็กชายคนนี้นั่นเอง
นวนิยายเรื่องนี้มีทั้งความสนุก เรื่องตลก (ที่อาจจะหัวเราะไม่ออก) ภาพความสะเทือนใจ อย่างไรก็ตาม อาจารย์ยุรฉัตรกล่าวว่า แม้เนื้อหามีลักษณะไม่เครียดทั้งเรื่อง แต่ก็แฝงความสะเทือนอารมณ์เอาไว้ในขณะเดียวกัน ซึ่งทำให้มีความน่าสนใจ
ในเรื่องนี้ผู้เล่าเรื่องอยู่ในลักษณะผู้สังเกตการณ์ ทำให้สามารถมองเห็นอารมณ์เศร้าของเด็ก และการผ่อนคลายอารมณ์เศร้าสะเทือนใจของเด็กชายนั้น
วิธีการนำเสนอเรื่อง ผู้เขียนนำเสนอโดยใช้โลกทัศน์แบบมองโลกในแง่ดี และสื่อถึงการช่วยเหลือกันในสังคมจริงๆ ที่ไม่ใช่สังคมอุดมคติ อาทิ ชาวบ้านที่มาช่วยมีลักษณะเกี่ยงว่า วันนี้ฉันช่วยแล้ว พรุ่งนี้ตาเธอช่วยบ้าง ในนวนิยายเรื่องนี้ กล่าวถึงปัญหายาเสพติดที่ไม่รุนแรง แต่แฝงแนวคิดว่า สังคมนี้ต้องพึ่งพาอาศัยกัน จึงจะอยู่ร่วมกันได้ (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)