รายละเอียดสินค้า หนังสือมหาวิทยาลัย 23 ตุลาคม 2496 *หนังสือที่เปิดตำนานชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์*
สาราณียากรโดย จิตร ภูมิศักดิ์
ประเภทปก อ่อน
กระดาษ ธรรมดา และ อาร์ตมัน
พิมพ์ครั้งที่ 1
ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2496
จัดพิมพ์โดย สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ส.จ.ม.)
จำนวนหน้า ประมาณ 350 หน้า
ขนาด 190x255 มม.
รายละเอียดเพิ่มเติม:
หนังสือมหาวิทยาลัย เป็นหนังสืออะไร บทความของอาจารย์ประยอม ซองทอง น่าจะให้ความกระจ่างได้เป็นอย่างดี
"..นามหนังสือนั้นต่อมาถูกเรียกเพียงสั้น ๆ ว่า “มหาวิทยาลัย” ฉบับ 23 ตุลาคม
และผู้ที่ได้เลือกเป็นสาราณียกรนั้น ต้องรับผิดชอบในการผลิตหนังสือเพื่อแจกจ่ายในวันอันสำคัญของชาว สีชมพู นิสิตที่มาถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้าในเช้าวันที่ 23 ตุลาคม จะได้รับหนังสือ ”มหาวิทยาลัย”.."
อ่านบทความเต็มได้ที่นี่
http://www.memohall.chula.ac.th/article/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D/
สำหรับหนังสือมหาวิทยาลัยเล่มนี้น่าจะเป็นเล่มที่โด่งดังที่สุด เพราะเป็นหนังสือสร้างชื่อเสียงให้กับสาราณียากรที่ชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์ แพร่หลายออกสู่สังคมในวงกว้างจากกรณีการโยนบกอัน "ป่าเถื่อน" ใครสนใจลองค้นดูนะครับมีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขอยกตัวอย่างจากวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี สั้นๆดังนี้
"..ชื่อเสียงของ จิตร ภูมิศักด์ น่าจะโด่งดังในสาธารณชนวงกว้างเป็นครั้งแรก จากกรณี โยนบก เมื่อครั้งที่เขาเป็นสาราณียากร ให้กับหนังสือประจำปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2496 ในครั้งนั้นเขาได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ "ซ้ำ ๆ ซาก ๆ" ของหนังสือประจำปี โดยลงบทความสะท้อนปัญหาสังคม ประณามผู้เอารัดเอาเปรียบในสังคม ซึ่งรวมถึงรัฐบาลด้วย รวมทั้งชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้คนนับถือกันมานาน โดยบทความเหล่านั้น มีทั้งที่จิตรเขียนเอง ร่วมแก้ไข หรือเพื่อน ๆ คนอื่นเขียน ผลก็คือระหว่างการพิมพ์หนังสือได้ถูกตำรวจสันติบาลอายัด และมีการ "สอบสวน" จิตรที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์นั้น จิตรถูกกลุ่มนิสิตที่นำโดยนายสีหเดช บุนนาค คณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งศาลเตี้ยจับ "โยนบก" ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาลและพักรักษาตัวอยู่หลายวัน ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษและมีมติให้จิตร ภูมิศักดิ์ถูกพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2497..."
รีวิว (2)
Customer
10/12/2560 13:51
คุณภาพสินค้าดีมาก
Customer
10/12/2560 13:51
คุณภาพสินค้าดีมาก