ร้านหนังสือเก่า สยามบุ๊คดอทเน็ต Siambook.net : The Name for Quality Usedbooks ร้านสุหนังสือเก่า , ร้านหนังสือมือสอง , ร้านหนังสือหายาก , ร้านหนังสือออนไลน์ , มานี มานะ , สามเกลอ , รับซื้อหนังสือ ให้ราคายุติธรรม

ลิลิตพระลอ *ได้รับการยกย่องให้เป็น ยอดแห่งลิลิต*

SOLD OUT
฿125.00
ประเภทปก แข็งกระดาษ ปอนด์พิมพ์ครั้งที่ -ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2506สำนักพิมพ์ คลังวิทยาจำนวนหน้า 150 หน้าขนาด 145x215 มม.สภาพหนังสือ:ปกมอมแมม มีรอยเปื้อน รอยกร
เหลือ 0 ชิ้น
  • หมวดหมู่ : -หนังสือรางวัลอื่น ๆ
  • รหัสสินค้า : 028479

รายละเอียดสินค้า ลิลิตพระลอ *ได้รับการยกย่องให้เป็น ยอดแห่งลิลิต*

 

ประเภทปก แข็ง
กระดาษ ปอนด์
พิมพ์ครั้งที่ -
ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2506
สำนักพิมพ์ คลังวิทยา
จำนวนหน้า 150 หน้า
ขนาด 145x215 มม.
สภาพหนังสือ:ปกมอมแมม มีรอยเปื้อน รอยกระแทก ถลอกตามขอบเล็กน้อยตามภาพ ,ใบรองปก-หลังปก เป็นจ้ำเหลืองกระจาย  , กระดาษเหลืองตามขอบ และเป็นจ้ำเหลืองประปรายบางหน้า , สันหนังสือเหลืองและเป็นจุดเหลืองประปราย 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม
ลิลิตพระลอเป็นเรื่องรักโศก บรรยายถึงความรักระหว่างพระเอก คือ พระลอ และนางเอกสองคน คือ พระเพื่อน และพระแพง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของหญิงชายอีกสองคู่ คือ นางรื่น นางโรย และนายแก้ว นายขวัญ พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง และพระลอ ตามลำดับ
ผู้แต่งได้ผูกเรื่องไว้อย่างน่าติดตาม โดยมีบทพรรณนาที่งดงาม มีความหลากหลาย โดยตลอด แม้จะนับเป็นนิยายเรื่องยาว (ความยาวถึง 660 บท) แต่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ
ลิลิตพระลอได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. 2459 ให้เป็นยอดแห่งลิลิต
 
เรื่องพระลอ เป็นนิทานพื้นเมืองทางอาณาเขตลานนา (คือภาคพายัพ) นักปราชญ์แต่งเป็นกลอนลิลิตขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวระหว่าง พ.ศ.1991-2076 ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้า เพราะหนังสือจินดามณีที่พระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลนั้น ได้คัดเอาโคลงลิลิตพระลอในบทที่ 30 ไปใช้เป็นแบบโคลง 4 สุภาพ ซึ่งตำราโคลงชั้นหลัง ๆ ได้อ้างโคลงบทนี้เป็นเยี่ยงอย่างตามกันมาจนถึงตำราฉันทลักษณ์สยามไวยากรณ์...
..เสียงฤาเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ...
หนังสือลิลิตพระลอ นั้น นับได้ว่าเป็นลิลิตเรื่องเอก เป็นที่นิยมยกย่องมากในหมู่นักวรรณคดี และนักอ่านถือกันว่าเป็นยอดของลิลิต และเป็นตำราของหนังสือลิลิตในยุคต่อมา