รายชื่อ หนังสือดีวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม
คณะวิจัยหนังสือดีวิทยาศาสตร์ โดยการสนับสนุนด้านเงินทุนวิจัย จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ประกาศยกย่องหนังสือดีวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544
หนังสือดีวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ (1) ประเภทบันเทิงคดี (2) ประเภทสารคดี และ(3) ประเภทความรู้ทั่วไป
(1) ประเภทบันเทิงคดี :
หนังสือประเภทบันเทิงคดีมีทั้งหมด 29 เล่ม มีทั้งนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องยาว และรวมเรื่องสั้นนิยายวิทยาศาสตร์ มีทั้งประเภทเป็น Hard Science Fiction ดังเช่น ผู้ดับดวงอาทิตย์ (จันตรี ศิริบุญรอด) ประเภท Soft Science Fiction ดังเช่น คำวิงวอนของมนุษยชาติ (นิรันศักดิ์ บุญจันทร์) เรื่องประเภทนิยายวิทยาศาสตร์เชิงแฟนตาซี เช่น โลกของหนูแหวน (ศราวก), สุดขอบจักรวาล (จุฑารัตน์ กิตติก้องนภา) นิยายวิทยาศาสตร์ แนวยูโทเปีย (Utopia) คือ เมืองนิมิตร (ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน) และที่เป็นนิยายวิทยาศาสตร์เชิงตลกขบขัน ซึ่งมีเพียงเล่มเดียวคือ ล่องหน (ชุดสามเกลอ) ของ ป.อินทรปาลิต เป็นหนังสือชวนหัวชุดสามเกลอ ที่ ป.อินทรปาลิต เริ่มเขียนตั้งแต่ปี 2473
โดยภาพรวมแล้ว นิยายวิทยาศาสตร์ไทย เป็นเรื่องที่ผู้เขียนเขียนได้น่าสนใจ อ่านสนุก มีความคิดที่แปลก ซึ่งเป็นจุดแข็งของนิยายวิทยาศาสตร์ทั่วไป แต่ที่ยังขาดอยู่คือ นิยายวิทยาศาสตร์ที่ลุ่มลึก แปลก ชวนพิศวง ฉีกแนวออกไปจากเรื่องนิยายวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป กล่าวคือ ส่วนใหญ่ก็จะยังจำกัดกรอบแห่งจินตนาการอยู่ ในประเภทที่ต้องการนำเสนอ เช่น เป็นนิยายวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสังคม หรือเป็นนิยายวิทยาศาสตร์เชิงแฟนตาซี ในขณะที่นิยายวิทยาศาสตร์ซึ่งท้าทายอย่างยิ่ง คือ นิยายวิทยาศาสตร์ที่ผสมผสานทั้งส่วนเป็น Hard Science Fiction ส่วนเป็นนิยายวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสังคม และส่วนเป็นนิยายวิทยาศาสตร์เชิงแฟนตาซี
อีกจุดหนึ่งที่ยังเป็นจุดอ่อนของวงการนิยายวิทยาศาสตร์ไทย คือ ความต่อเนื่องของผลงาน กล่าวคือ มีนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่เขียนนิยายวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องค่อนข้างน้อย ทำให้มีพัฒนาการในการสร้างนิยายวิทยาศาสตร์ที่แปลกใหม่ - อย่างสร้างสรรค์ออกมาน้อย ทั้งๆ ที่มีนักเขียนหลายคน ซึ่งมีแววหรือศักยภาพในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชั้นดีมากทีเดียว
(2) ประเภทสารคดี :
หนังสือประเภทสารคดีได้รับการคัดเลือกเป็นหนังสือดีวิทยาศาสตร์ รวม 30 เล่ม โดยนับเล่มในชุดเดียวกันเป็น 1 เล่ม เช่น ชุด เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเล : ชีวิตพิสดารของสัตว์ทะเล (สุรินทร์ มัจฉาชีพ) มีทั้งหมด 3 เล่ม แต่ในโครงการนี้ นับเป็นเล่มเดียว
หนังสือประเภทสารคดี มีทั้งหนังสือเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ตรงๆ ดังเช่น เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเล : ชีวิตพิสดารของสัตว์ทะเล (สุรินทร์ มัจฉาชีพ) เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ ดังเช่น ธรรมชาติเจ้าเอย (อำนวย คอวนิช) เรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ดังเช่น สู่ดุลยภาพ (สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ, บรรณาธิการ) เรื่องเกี่ยวกับปรัชญา ดังเช่น ปัญญาวิวัฒน์ (สมัคร บุราวาศ) เรื่องเกี่ยวกับศาสนา ดังเช่น คู่มือมนุษย์ (พุทธทาสภิกขุ) สำหรับไพรหม่น (ชัยชน โลว์เจริญกุล) และวิทยาศาสตร์สัญจร หรือนิราศร้อยวัน (เจริญ ธรรมพานิช) เป็นหนังสือสองเล่มเท่านั้น จากหนังสือดีวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม ที่เป็นบทกวี หนังสือแสดงกิจจานุกิจ (เจ้าพระยาทิพากรวงษ์) เป็นหนังสือได้รับการคัดเลือกเก่าแก่ที่สุดประเภทสารคดี คือ ตีพิมพ์ พ.ศ.2408 หนังสือ ชมดาว (พระนิรันตรญาณมุนี) เป็นหนังสือสารคดีเก่าแก่ที่สุดถัดมา ตีพิมพ์ พ.ศ.2497
สภาพของโลกหนังสือสารคดีเชิงวิทยาศาสตร์ของไทยเรา ที่เด่นชัดและมีคุณค่า จะเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับธรรมชาติ สังคม ศาสนา ซึ่งมีความเป็นวิทยาศาสตร์อยู่ด้วย ที่ยังขาดอยู่มาก คือ หนังสือสารคดีวิทยาศาสตร์จริงๆ ที่เป็นเรื่องของการศึกษา - ค้นคว้า - เดินทาง - การผจญภัย - ในแวดวงเรื่องราวของวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ดังเช่น สารคดีวิทยาศาสตร์ของการศึกษาวิจัย และการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์ และสารคดีวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาความรู้ความคิดทางวิทยาศาสตร์ หรือประสบการณ์ของชีวิตที่โชกโชนกับการเดินทางในโลกของวิทยาศาสตร์
(3) ประเภทความรู้ทั่วไป :
หนังสือประเภทความรู้ทั่วไปที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหนังสือดีวิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 29 เล่ม โดยนับหนังสือที่เป็นชุด ดังเช่น รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ เล่ม 1 และเล่ม 2 (กฤษณา ชุติมา) เป็นหนึ่งเล่ม
หนังสือประเภทความรู้ทั่วไป มีทั้งที่เป็นหนังสือวิทยาศาสตร์ตรงๆ ในลักษณะของตำราเรียน ดังเช่นดาราศาสตร์และอวกาศ (ระวี ภาวิไล) เพราะเป็นหนังสือที่มีความสำคัญต่อการศึกษาดาราศาสตร์ไทย และผู้เขียนเป็นผู้มีความรู้จริง หนังสือวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสัตว์ให้ความรู้ทั่วไปอย่างน่าสนใจ เช่น ชีวิตแมลง (สิรินทร์ โชติช่วง) หนังสือเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เช่น ป่าเขตร้อน (อรวรรณ หุตะเจริญ) หนังสือเกี่ยวกับกำเนิดชีวิต ดังเช่น เราเกิดมาจากไหน (วิริยะ สิริสิงห) หนังสือให้ความรู้วิทยาศาสตร์โดยทั่วไปที่อ่านสนุก ดังเช่น วาโย (วิชัย หโยดม) หนังสือบันทึกความรู้และประวัติวิทยาศาสตร์เก่าแก่ ดังเช่น 300 ปี ดาราศาสตร์ไทย (ไชยันต์ ภาคอุทัย และ สาลิน วีรบุตร, บรรณาธิการ)
หนังสือประเภทความรู้ทั่วไปเก่าแก่ที่สุด และเป็นหนังสือเก่าแก่ที่สุดในบรรดาหนังสือดีวิทยาศาสตร์ทั้ง 88 เล่ม คือ ไตรภูมิพระร่วง พระญาลิไทยทรงนิพนธ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. 1888 ถึงแม้สาระความรู้ที่แสดงในไตรภูมิพระร่วง จะไม่ถูกต้องแล้วสำหรับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน แต่ก็มีคุณค่าในฐานะเป็นหนังสือเล่มแรกที่เป็นบันทึกความรู้ความคิด ความเข้าใจ ของคนไทยเกี่ยวกับชีวิต (กำเนิดชีวิต) และจักรวาล (กำเนิดและวาระสุดท้ายของจักรวาล) เก่าแก่ที่สุดของไทย ซึ่งก็คือ ภูมิปัญญาไทยเชิงวิทยาศาสตร์เก่าแก่ที่สุดที่มีบันทึกอยู่ และก็มีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทย ตราบถึงปัจจุบันนี้
ประเภทบันเทิงคดี 29 เล่ม
1 กรุงเทพ 2550 , เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
2 กาลาปาโก้ส , จันทรำไพ
3 คำวิงวอนของมนุษยชาติ , นิรันศักดิ์ บัญจันทร์
4 จ้อนท่องพิภพมหัศจรรย์ , เจนต์ เจริญโท
5 จินตนาการย้อนศร , ฉัตรเฉลิม ตันติสุข
6 ซุปเปอร์ป๋อง , กี๊ตตี้
7 ดั่งหนึ่งเม็ดทราย , โบตั๋น
8 ดีเอ็นเอ , วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
9 เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว , วินทร์ เลียววาริณ
10 แดนดาว , แก้วเก้า
11 แดนศิวิไลซ์ ,วิมล เดชาเลิศ
12 นครโลหะหนาว ,นันท์ นันทคุณ
13 บ้านยานเหาะ , แพรวา พานิชกิจ
14 ปลาวาฬของน้อย , วิริยะ สิริสิงห
15 ผู้ดับดวงอาทิตย์ , จันตรี ศิริบุญรอด
16 ผู้สืบทอด , ณัฐ ศาสตร์ส่องวิทย์
17 ฟากฟ้า นิรันดร บั้งไฟ ,บุญถึง แน่นหน้า
18 มนุษย์กลายพันธุ์ , ธรรมดา ประทีปสิต
19 มิติเร้น , จินตวีร์ วิวัธน์
20 เมืองนิมิตร , มรว. นิมิตรมงคล นวรัตน์
21 ล่องหน (ชุดสามเกลอ) , ป.อินทรปาลิต
22 โลกของหนูแหวน , ศราวก
23 สวนสัตว์ , สุวรรณี สุคณธา
24 สัมผัสแห่งอารยะ (ออบิต 7) , สมเกียรติ เงิ่งประภากร (บก.)
25 สุดขอบจักรวาล , จุฑารัตน์
26 สู่สรวงสวรรค์ , โกศล อนุสิม
27 อาณาจักรปลาทอง , ถนัดกิจ ปิณิยทรัพย์
28 อุบัติจากดวงดาว , นันทนา วีระชน
29 แอนโดรมิดา , ชัยคุปต์
ประเภทสารคดี 30 เล่ม
1 ก่อนจะไม่มีลมหายใจสำหรับพรุ่งนี้ , วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
2 การแพทย์แผนไทย , สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ
3 คู่มือมนุษย์ , พุทธทาสภิกขุ
4 ชมดาว , พระนิรันตรญาณมุนี
5 ชะละชา ภิธาน , จินดา เทียมเมฆ
6 ชีวจิต , สาทิส อินทรกำแหง
7 ชีวิตนี้มหัศจรรย์ยิ่งนัก , เฉก ธนะสิริ
8 ดูนก , รุ่งโรจน์ จุกมงคล
9 ตึก ต้นไม้ และแสงอรุณ , แสงอรุณ รัตกสิกร
10 ทะเล ป่า ภูเขา , ไมตรี ลิมปิชาติ
11 ธรรมชาติเจ้าเอย , อำนวย คอวนิช
12 ธรรมชาตินานาสัตว์ (เล่ม 1,2,3) , นพ.บุญส่ง เลขะกุล
13 บัญทึกวิชา (72 ปีของนักธรณีคนหนึ่ง) ,วิชา เศรษฐบุตร
14 บุบผชาติแห่งชีวิต , ระวี ภาวิไล
15 ประวัติศาสตร์อนาคต , ชัยวัตน์ คุประตกุล
16 ปัญญาวิวัฒน์ , สมัคร บุราวาศ
17 ป่าระบัด สัตว์สวย , คมทวน คันธนู
18 ผู้พบแผ่นดิน , จันตรี ศิริบุญรอด
19 พงศาวดารธรรมชาติของสัตว์ , เสฐียรโกเศศ
20 พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ , พระธรรมปิฎก
21 ไพรหม่น , นพ.ชัยชน โลว์เจริญกูล
22 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเล (เล่ม 1,2,3) , สุรินทร์ มัจฉาชีพ
23 โลกสีคราม (เล่ม 1,2) , มจ. ชาตรีเฉลิม ยุคล
24 วิทยาศาสตร์สัญจร (นิราศร้อยวัน) , เจริญ ธรรมพานิช
25 วิทยุในประเทศไทย , เสงี่ยม เผ่าทองสุข
26 สู่ดุลยภาพ , สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ (บก)
27 หนังสือแสดงกิจจานุกิจ , เจ้าพระยาทิพากรวงษ์
28 ห้วงมหรรณพ , มรว.คึกฤกธิ์ ปราโมช
29 หอมกลิ่นกล้วยไม้ , ระพี สาคริก
30 อยู่อย่างธรรมชาติ , มล.ตุ้ย ชุมสาย
ประเภทความรู้ทั่วไป 29 เล่ม
1 กสิกรรมบนดอน (หลักวิทยาศาสตร์และคำแนะนำสำหรับทำจริง) , มจ.สิทธิพร กฤษดากร
2 การปลูกอุบลชาติ , เสริมลาภ วสุวัต
3 ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม , สนง. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
4 คู่มือดูดาว , กนก จันทรขจร
5 จักรวาลและอาวกาศ , นิพนธ์ ทรายเพชร
6 จากลูกคิดสูงคอมพิวเตอร์ ,ครรชิด มาลัยวงศ์
7 ชีวิตแมลง , สิรินทร์ ช่วงโชติ
8 ดาราศาสตร์และอวกาศ , ระวี ภาวิไล
9 ตำรายา (วัดโพธิ์) , ศิลาจารึกวัดพระเชตุพล
10 ไตรภูมิพระร่วง , พระญาลิไทย
11 ทรัพยากรแร่ในประเทศไทย , งามพิศ แย้มนิยม
12 นักวิทยาศาสตร์ไทย , สมบัติ จำปาเงิน
13 นักวิทยาศาสตร์หนุ่ม บุญภักดิ์ ขวัญเจริญ
14 นิยายดาว , สิงโต ปุกหุต
15 ป่าเขตร้อน , อรวรรณ คูหเจริญ
16 พรรณไม้ในวรรณกรรมสุนทรภู่ , เสวตร เปี่ยนพงศานต์
17 พลังงานกับชีวิต , วิจิตร คงพูล
18 พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ , คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
19 พลาสติค , จงดี แสงเพชร
20 พืชกินได้และพืชมีพิษในป่าเมืองไทย , สมจิตร พงศ์พวัน
21 รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ (เล่ม 1,2) , กฤษณา ชุติมา
22 เราเกิดมาจากไหน , วิริยะ สิริสิงห
23 วาโย , วิชัย หโยดม
24 วิทยาการแห่งอารยะ , สุทัศน์ ยกส้าน
25 วิทยาศาสตร์ 200 ปี , สิริวัฒน์ วงศ์สิริ (บก.)
26 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน , ปุ๋ย โรจนบุรานนท์
27 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม , เกษม จันทร์แก้ว
28 หมอไทย ยาไทย , โครงการเผยแพร่เอกลักษณืไทย
29 300 ปี ดาราศาสตร์ไทย , ไชยันต์ ภาคอุทัย , สาลิน วีรบุตร (บก.)
แหล่งข้อมูล : http://www.pantip.com/cafe/wahkor/article/chaiwat/cwt_bkkbz340.html